ปัญหาหลักอีกอย่างในการพาผู้ป่วยนั่งรถวีลแชร์เที่ยว ก็คือ จะหาวิธีการติดอ็อกซิเจนหลังรถเข็นวีลแชร์ และในรถยนต์ ได้อย่างไร
เนื่องจากคุณพ่อจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ผ่านท่อที่เจาะคอ) ควบคู่กับอ็อกซิเจน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีที่จะนำอุปกรณ์จำเป็นทั้งหมดพกติดตัวไปด้วยให้ได้ เพื่อจะได้พาคุณพ่อออกจากบ้าน นั่งรถเล่น และเข็นวีลแชร์พาคุณพ่อเที่ยว ได้เช่นเดิม
หลังจากที่พยายามหาข้อมูล ได้พบว่าหากใช้เครื่องผลิตอ็อกซิเจนติดรถยนต์แบบเสียบชาร์ตไฟรถได้นั้น แม้จะเป็นของจากประเทศจีน ราคาสูงถึงเกือบหนึ่งแสนบาท แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเครื่องผลิตอ็อกซเจนที่ใช้ภายในบ้าน ซึ่งราคาอยู่ที่ 1หมื่นปลายๆหรือ 2หมื่นเท่านั้น
แต่ผู้เขียนโชคดีที่เห็นรถคันอื่นที่มาส่งผู้ป่วยที่รพ.เดียวกับพ่อ เค้าใช้ถังอ็อกซิเจนมายึดไว้ตรงกลางรถ หลังเบาะรถคู่หน้า ซึ่งเราเลยนำไอเดียนี้มาใช้กับรถตัวเองดูบ้าง โดยซื้อโครงเหล็กสำหรับเข็นมาด้วย เพื่อประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นในกรณีนำมาใช้งานนอกรถเมื่อจำเป็น รวมถึงโครงเหล็กของถังนี้ ยังช่วยเป็นที่ให้ผูกยึดกับเบาะที่นั่งได้มั่นคงขึ้นอีกด้วย
เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย นับว่าประหยัดไปได้มาก ยกตัวอย่างเช่น ถังอ็อกซิเจนที่ขนาดความจุ 1.5 ลิตร ความสูงรวมประมาณ 1 เมตร ราคาประมาณ 2,500บาท โครงรถเข็น ประมาณ 1,200บาท และชุดเกย์จ่ายอ็อกซิเจน ประมาณ 1,300 บาท รวมๆก็ 5,000 บาท
ตามภาพด้านซ้าย มีสายรัดสินค้าทั่วไปที่นำมาใช้ยึกให้แน่นกับก้านพนักพิงศรีษะของเบาะที่นั่งด้านหน้า ทั้งซ้ายและขวา ส่วนตระกร้าที่เห็นใส่ของแขวนด้านหลังเบาะนั่งคนขับ สำหรับใส่อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ของคุณพ่อค่ะ เช่นสายดูดเสมหะ ซึ่งผู้เขียนจะขออนุญาตินำเสมอ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์นี้ให้ซื้อ เครื่องดูดเสมหะ ที่สามารถใช้กับไฟรถยนต์ได้ และมีแบตเตอร์รี่ในตัวนะคะ จะได้นำไปใช้ในรถได้เลยค่ะ (ตามภาพค่ะ)
ทีนี้เรามาดูวิธีติดตั้งกับด้านหลังรถเข็นวีลแชร์ แบบง่ายๆกันนะคะ เราวัดระยะระหว่างก้านจับเข็นสองฝั่ง และไปขอซื้อเหล็กอลูมิเนียมจากร้านทำหลังคาและรั้วบ้านค่ะ พอนำมาวางระหว่างมือจับสองข้าง เราก็ได้ที่ยึดอุปกรณ์จำเป็นหลังรถเข็นวีลแชร์แล้วค่ะ
สำหรับถังอ็อกซิเจนที่นำมายึดติดด้านหลังวีลแชร์ ควรมีน้ำหนักเบา เพื่อความคล่องตัวในการเข็น แต่ในขณะเดียวกันก็ควรมีความจุที่เพียงพอกับ ระยะเวลาในการเข็นรถเที่ยวด้วยนะคะ เราเลยเลือกใช้ถังอ็อกซิเจนแบบอลูมิเนียม ซึงมีราคาสูงกว่าถังเหล็กเท่าตัว รุ่นที่เห็นตามภาพ เป็นขนาด 0.7 คิวค่ะ ราคาประมาณ 4,000บาท ถ้ารวมกับเกย์จ่ายอ็อกซิเจน และโครงเหล็กแขวน ก็ประมาณ 6-7พันบาทค่ะ (ขายในบางร้านที่ขายถังอ็อกซิเจน ผู้เขียนซื้อทั้งชุดมาจาก ร้านส.สมบูรณ์อ็อกซิเจน ที่ถ.เจริญนคร ลองติดต่อสอบถามเส้นทาง หรือราคาที่โทร. 02-4370284ค่ะ
ส่วนกระเป๋าที่แขวนด้านข้างถังอ็อกซิเจน ผู้เขียนสั่งเย็บพิเศษเพื่อนำมาวางเครื่องช่วยหายใจ (เจาะคอ)ของคุณพ่อด้วยค่ะ ซึ่งก็ควรเป็นเครื่องที่มีแบตฯในตัวเช่นกันนะคะ ของคุณพ่อเป็นเครื่องของ BREAS รุ่นVivo40 ค่ะ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์นะคะ หากต้องการข้อมูลใดเพิ่มเติม สามารถเขียนสอบถามได้นะคะ ท้ายนี้ขอให้มีความสุขกับการท่องเที่ยวโดยปราศจากอุปสรรคนะคะ มีรอยยิ้มมาฝากค่ะ ^_^
เนื่องจากคุณพ่อจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ผ่านท่อที่เจาะคอ) ควบคู่กับอ็อกซิเจน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีที่จะนำอุปกรณ์จำเป็นทั้งหมดพกติดตัวไปด้วยให้ได้ เพื่อจะได้พาคุณพ่อออกจากบ้าน นั่งรถเล่น และเข็นวีลแชร์พาคุณพ่อเที่ยว ได้เช่นเดิม
หลังจากที่พยายามหาข้อมูล ได้พบว่าหากใช้เครื่องผลิตอ็อกซิเจนติดรถยนต์แบบเสียบชาร์ตไฟรถได้นั้น แม้จะเป็นของจากประเทศจีน ราคาสูงถึงเกือบหนึ่งแสนบาท แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเครื่องผลิตอ็อกซเจนที่ใช้ภายในบ้าน ซึ่งราคาอยู่ที่ 1หมื่นปลายๆหรือ 2หมื่นเท่านั้น
แต่ผู้เขียนโชคดีที่เห็นรถคันอื่นที่มาส่งผู้ป่วยที่รพ.เดียวกับพ่อ เค้าใช้ถังอ็อกซิเจนมายึดไว้ตรงกลางรถ หลังเบาะรถคู่หน้า ซึ่งเราเลยนำไอเดียนี้มาใช้กับรถตัวเองดูบ้าง โดยซื้อโครงเหล็กสำหรับเข็นมาด้วย เพื่อประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นในกรณีนำมาใช้งานนอกรถเมื่อจำเป็น รวมถึงโครงเหล็กของถังนี้ ยังช่วยเป็นที่ให้ผูกยึดกับเบาะที่นั่งได้มั่นคงขึ้นอีกด้วย
เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย นับว่าประหยัดไปได้มาก ยกตัวอย่างเช่น ถังอ็อกซิเจนที่ขนาดความจุ 1.5 ลิตร ความสูงรวมประมาณ 1 เมตร ราคาประมาณ 2,500บาท โครงรถเข็น ประมาณ 1,200บาท และชุดเกย์จ่ายอ็อกซิเจน ประมาณ 1,300 บาท รวมๆก็ 5,000 บาท
ตามภาพด้านซ้าย มีสายรัดสินค้าทั่วไปที่นำมาใช้ยึกให้แน่นกับก้านพนักพิงศรีษะของเบาะที่นั่งด้านหน้า ทั้งซ้ายและขวา ส่วนตระกร้าที่เห็นใส่ของแขวนด้านหลังเบาะนั่งคนขับ สำหรับใส่อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ของคุณพ่อค่ะ เช่นสายดูดเสมหะ ซึ่งผู้เขียนจะขออนุญาตินำเสมอ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์นี้ให้ซื้อ เครื่องดูดเสมหะ ที่สามารถใช้กับไฟรถยนต์ได้ และมีแบตเตอร์รี่ในตัวนะคะ จะได้นำไปใช้ในรถได้เลยค่ะ (ตามภาพค่ะ)
ทีนี้เรามาดูวิธีติดตั้งกับด้านหลังรถเข็นวีลแชร์ แบบง่ายๆกันนะคะ เราวัดระยะระหว่างก้านจับเข็นสองฝั่ง และไปขอซื้อเหล็กอลูมิเนียมจากร้านทำหลังคาและรั้วบ้านค่ะ พอนำมาวางระหว่างมือจับสองข้าง เราก็ได้ที่ยึดอุปกรณ์จำเป็นหลังรถเข็นวีลแชร์แล้วค่ะ
สำหรับถังอ็อกซิเจนที่นำมายึดติดด้านหลังวีลแชร์ ควรมีน้ำหนักเบา เพื่อความคล่องตัวในการเข็น แต่ในขณะเดียวกันก็ควรมีความจุที่เพียงพอกับ ระยะเวลาในการเข็นรถเที่ยวด้วยนะคะ เราเลยเลือกใช้ถังอ็อกซิเจนแบบอลูมิเนียม ซึงมีราคาสูงกว่าถังเหล็กเท่าตัว รุ่นที่เห็นตามภาพ เป็นขนาด 0.7 คิวค่ะ ราคาประมาณ 4,000บาท ถ้ารวมกับเกย์จ่ายอ็อกซิเจน และโครงเหล็กแขวน ก็ประมาณ 6-7พันบาทค่ะ (ขายในบางร้านที่ขายถังอ็อกซิเจน ผู้เขียนซื้อทั้งชุดมาจาก ร้านส.สมบูรณ์อ็อกซิเจน ที่ถ.เจริญนคร ลองติดต่อสอบถามเส้นทาง หรือราคาที่โทร. 02-4370284ค่ะ
ส่วนกระเป๋าที่แขวนด้านข้างถังอ็อกซิเจน ผู้เขียนสั่งเย็บพิเศษเพื่อนำมาวางเครื่องช่วยหายใจ (เจาะคอ)ของคุณพ่อด้วยค่ะ ซึ่งก็ควรเป็นเครื่องที่มีแบตฯในตัวเช่นกันนะคะ ของคุณพ่อเป็นเครื่องของ BREAS รุ่นVivo40 ค่ะ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์นะคะ หากต้องการข้อมูลใดเพิ่มเติม สามารถเขียนสอบถามได้นะคะ ท้ายนี้ขอให้มีความสุขกับการท่องเที่ยวโดยปราศจากอุปสรรคนะคะ มีรอยยิ้มมาฝากค่ะ ^_^